25 กันยายน 2550

อ่าข่ากับITตอนที่1

ปีแล้วที่อินเทอร์เน็ตเข้ามาบทบาทในงานสื่อ
เพื่อการพัฒนาสังคม
จนแทบจะเรียกได้ว่า
พลิกโฉมหน้าจากจดหมายข่าวที่ส่งถึงคนในวงแคบๆ
มาเป็นเว็บไซต์ที่ผู้คนจะเข้ามาอ่านหรือ
หาข้อมูลเมื่อไหร่ก็ทำได้
และหากมองภาพใหญ่แล้ว
วันนี้เรามีเว็บเพจทั่วโลกแล้วกว่า 350 ล้านหน้า
ซึ่งเป็นอัตราการเติบโตที่ทวีคูณนับจากมีการคิดค้น
World Wide Web เป็นต้นมา

การสร้างเว็บไซต์นั้นจากเดิมที่สร้างบนพื้นฐานของ
ไฟล์สกุล html
ในช่วงต้นและพัฒนามา
ใช้ระบบฐานข้อมูลในการจัดเก็บเนื้อหาในภายหลัง
ซึ่งทำให้มีข้อจำกัดในการแลกเปลี่ยนข้อมูล
โดยเฉพาะในงานพัฒนาที่มีความหลากหลาย
สถานการณ์ที่ผ่านมางานเว็บไซต์ขององค์กรเพื่อสังคม
หรือ NGOs
อยู่ในสภาพที่ต่างก็มีเว็บไซต์ในองค์กรของตังเอง
การแลกเปลี่ยนข้อมูลอาจจะเป็นแค่
ทำลิ้งค์เข้าหากันในเครือข่าย
ทั้งที่อันที่จริงแล้วงานต่างๆ
ในเครือข่ายขององค์กรเพื่อสังคมนั้นมีเป้าหมาย
และเนื้อหางานที่ใกล้เคียงกัน
ยกตัวอย่างเช่น องค์กรพัฒนาเอกชนด้านเอดส์
ที่ทำงานรณรงค์ด้านการป้องกัน
และช่วยเหลือผู้ติดเชื้อ HIV
ซึ่งมีหลายองค์กรมาก ทั้งเป็นหน่วยงานในพื้นที่
หน่วยงานส่วนกลาง
และหน่วยงานระหว่างประเทศ
และหากทุกองค์กรมีเว็บไซต์
หมายถึงเราจะมีเว็บไซต์องค์กรด้านเอดส์
เกือบร้อยเว็บไซต์
การมีเว็บไซต์เนื้อหาใกล้เคียงกันอาจแตกต่างกันบ้าง
ตามแต่สภาพพื้นที่ทำงานในจำนวนมากนั้น
ไม่ใช่เรื่องเสียหายอะไร
กลับช่วยให้ข้อมูลหรือประเด็นปัญหาท
ี่รณรงค์อยู่ถูกย้ำอันเป็นข้อดีของงานรณรงค์
แต่จุดอ่อนก็คือข้อมูลทั้งหลายที่อยู่บนเว็บไซต์
ขององค์กรในเครือข่ายเดียวกัน
ไม่ได้ถูกเชื่อมโยงเข้าหากัน
ซึ่งถ้าทำได้ผู้เข้าชมเว็บไซต์องค์กรด้านเอดส์ในส่วนกลาง
ก็จะเข้าถึงข้อมูลในพื้นที่
หรือ เข้าเว็บไซต์องค์กรในพื้นที่ก็สามารถเข้าดูข้อมูล
ที่เคลื่อนไหวในส่วนกลางได้
ซึ่งเทคโนโลยี Web 2.0 มีทางออก

WEB 2.0

คือการพัฒนาการให้บริการข้อมูลบนเว็บไซต์จากรุ่นที่ 1 คือ
เป็นเว็บที่เป็นเอกสาร html
หรือเว็บไซต์ที่มีขั้นตอนการทำที่ยุ่งยาก
ต้องอาศัยความสามารถทางเทคนิค
หรือพื้นที่ในการสร้างเว็บไซต์
และเป็นข้อมูลที่ผู้จัดทำเว็บนั้นเป็นเจ้าของ
มาเป็นเว็บไซต์ที่ง่ายต่อการสร้าง
ผู้สร้างไม่จำเป็นต้องรู้เรื่องเทคนิคมากมาย
เช่น Web Blog
หรือเว็บที่ผู้คนทั้งหลาย
สามารถเข้ามาร่วมกันใส่ข้อมูลในรูปแบบอาสาสมัคร
เช่น สารานุกรมบนอินเทอร์เน็ต Wikipedia เป็นต้น
อีกทั้งข้อมูลต่างๆ
ยังถูกเชื่อมโยงเข้าหาได้ด้วยระบบ RSS feed, Tags
หรือ Social bookmark
นอกจากนี้ยังมีเครื่องมืออื่นๆที่ใช้เทคโนโลยี Web2.0
ที่มีประโยชน์ในงานพัฒนาซึ่งจะได้แนะนำต่อไป

Blog บล็อกมาจากคำว่า Web logs
เริ่มมาจากการเขียนบันทึกประจำวัน
และพัฒนามาเป็นการเขียนเรื่องราว
ลักษณะแบบเว็บไซต์ส่วนตัวที่นำเสนอเรื่องที่ตัวเองสนใจ
หรือความเห็นต่อสถานการณ์ต่างๆ ทั้งเศษรฐกิจ
สังคม การเมือง
เทคโนโลยี บันเทิง และอื่นๆ ข้อดีของบล็อกคือ
ง่ายต่อการใช้งาน
ไม่จำเป็นต้องมีความรู้เรื่องการสร้างเว็บไซต์
และสามารถเชื่อมโยงข้อมูลไปยังบล็อกอื่นๆ
ผ่านทาง ระบบ RSS
รวมทั้งสามารถใช้เทคโนโลยี Web 2.0
จากเว็บผู้ให้บริการด้านต่างๆ อาทิ
ภาพถ่าย เสียง และวีดีโอ
ในงานพัฒนาบล็อกอาจเป็นส่วนหนึ่งของเว็บไซต์องค์กร
ซึ่งช่วยเสริมความหลากหลาย
และข้อมูลที่ทันสมัยให้กับเว็บไซต์
และเป็นเครื่องมือที่ช่วยสร้างชุมชนออนไลน์ให้กับเว็บไซต์
ซึ่งมาจากคุณสมบัติเด่นๆ ของบล็อกดังต่อไปนี้

*

มีผู้เขียนบล็อกได้หลายคน ผู้ดูแลเว็บไซต์สามารถ
ให้สิทธิกับนักเขียนเข้ามาเขียนบล็อกบนเว็บไซต์ได้
เป็นการเพิ่มจำนวนของนักเขียนที่จะมา
เพิ่มข้อมูลให้เว็บไซต์ขององ์กรได้
*

สามารถเพิ่มความคิดเห็น
ทุกเรื่องที่เขียนสามารถเปิดให้ผู้อื่น
มีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรื่องที่เขียน
โดยบางระบบสามารถแสดงความคิดเห็นผ่านที่อีเมล
หรือหากมีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่เขียน
ผู้แสดงความคิดเห็นสามารถใส่ที่อยู่เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องลงไป
ในส่วนแสดงความคิดเห็นได้
*

เพิ่มข้อมูลได้หลากหลายวิธี
ผู้เขียนบล็อกสามารถส่งข้อมูลมาลงบล็อกได้้้
้ทั้งจากทางอีเมล์ หรือ
โทรศัพท์มือถือ
และรูปแบบหน้าตาของบล็อกเองก็ไม่ซับซ้อน
สามารถเปิดอ่านได้อย่างรวดเร็ว
แม้ว่าการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตจะช้า
แต่เชื่อว่าตัวอย่างที่กล่าวถึงข้างต้นน่าจะเป็นประโยชน์และ
ทำให้เว็บขององค์กรเพื่อสังคมเพิ่ม “ความสด”ของข้อมูล
และที่สำคัญคือจะทำให้การเชื่อมโยงข้อมูล
ที่หลากหลายขององค์กรเพื่อสังคมเกิดขึ้น
ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการเผยแพร่ข้อมูลของงานพัฒนา
ทำให้สาธารณะเข้าใจภาพของงานพัฒนา
อันมีเป้าหมายเดียวกันคือการร่วมกันสร้างสรรค์สังคมที่ดีขึ้น
ข้อมูลอ้างอิงจากเวบไซท์ ชมรมictนักพัฒนา

ส่วนวิธีทำบล็อกของgoogleเราจะนำมาเสนอในโอกาสหน้า

ไม่มีความคิดเห็น: